เบื้องหลัง ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน คือ สมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจากคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งส่งผลให้พรรครัฐบาลหลักสามพรรคถูกยุบ ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยเสียงสนับสนุนสำคัญจากพรรคภูมิใจไทย โดยหลังจากนั้นได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในขณะที่คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 อัยการยังไม่สั่งฟ้องในคดีอาญา

จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน[8]

จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9] อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด[9] ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[10] จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา

การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[11] โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม[12] ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน[13] จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม

โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ[2] หากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง[14]

ในวันที่ 3 เมษายน 2554 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทานสัมภาษณ์พิเศษ กับรายการวู๊ดดี้เกิดมาคุย ใจความตอนหนึ่งทรงกล่าวโจมตี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชวรหนัก และ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยที่ทรงละเว้นการกล่าวถึง การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศมหาศาลเช่นเดียวกัน การประทานสัมภาษณ์ครั้งนั้นมีผลให้ กลุ่มผู้ชุมนุมโกรธแค้น ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบทความ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?[15]ความโกรธแค้นของกลุ่มผู้ชุมนุมจากการประทานสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารถโต้ตอบได้เลยนอกจากแสดงออกในการเลือกตั้งเท่านั้น

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 http://61.19.246.214/~accout/direct/browse.php/Oi8... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/698... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/728... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/731... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/election/245443/ph...